"Ethics and equity and the principles of justice do not change with the calendar."
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ของโรงพยาบาลเลิดสิน (Lerdsin Hospital Ethics Committee) หรือเรียกว่า “LHEC” ทำหน้าที่อย่างเป็นอิสระในการให้คำแนะนำและพิจารณาโครงการวิจัยที่ทำการศึกษาวิจัยหรือทดลองในมนุษย์ของโรงพยาบาลเลิดสิน โดยคณะกรรมการประกอบด้วย บุคคลในสายวิทยาศาสตร์ และไม่ใช่สายวิทยาศาสตร์ ขอบข่ายของงาน ความรับผิดชอบและหน้าที่จะถูกระบุไว้ใน Terms of Reference (TOR) ซึ่งจะถูกสนับสนุนโดย SOPs ของโรงพยาบาลเลิดสิน
คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ มีอำนาจหน้าที่ในการพิทักษ์ซึ่งสิทธิความปลอดภัย ความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัคร และชุมชนที่เข้าร่วมในโครงการวิจัย ภายใต้ความรับผิดชอบของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ พิจารณาอนุมัติ ทบทวน ตรวจสอบ ยับยั้ง หรือยุติโครงการวิจัยในคนที่ดำเนินการ ในโรงพยาบาลเลิดสิน ออกระเบียบ ข้อบังคับใด ๆ เพื่อดำเนินการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลเลิดสิน
RESEARCHER GUIDE
การยื่นขอรับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ครั้งแรก (INITIAL SUBMISSION)
การยื่นขอรับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ คือสิ่งแรกที่ผู้วิจัยพึงจะต้องปฏิบัติ เนื่องจากโครงการวิจัยใด ๆ ที่ต้องการเก็บข้อมูลหรือดำเนินการใด ๆ กับผู้ป่วยที่อยู่ภายใต้โรงพยาบาลเลิดสิน ต้องขอรับการรับรองจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์เสียก่อน หากไม่มีการรับรองจะถือว่าการกระทำโครงการวิจัยนั้นเป็นการละเมิดสิทธิ์ต่อข้อมูลของผู้ป่วย และทางโรงพยาบาลเลิดสินจะไม่เห็นชอบให้ดำเนินการทำวิจัยหรือเก็บข้อมูล โดยการยื่นขอรับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ครั้งแรก (Initial submission) นั้น ผู้วิจัยจะต้องตรวจสอบโครงการวิจัยที่ต้องการขอรับรองจริยธรรมว่าโครงการวิจัยของท่านเข้าเกณฑ์การพิจารณาใด โดยสามารถตรวจสอบได้ในเอกสาร "AF-.... การจำแนกเกณฑ์การพิจารณาทบทวน"
เกณฑ์การพิจารณาในการยื่นขอรับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์นั้นจะมีเกณฑ์การพิจารณาอยู่ทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
การยกเว้นการพิจารณา (Exemption)
การพิจารณาแบบเร็ว (Expedited)
- โครงร่างการวิจัยที่ใช้แบบสอบถามซึ่งไม่มีความเสี่ยงหรือมีความเสี่ยงน้อยต่ออาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงร่างการวิจัย
- โครงร่างการวิจัยที่เป็นการศึกษาแบบสังเกตการณ์ ที่ไม่มีความเสี่ยง หรือมีความเสี่ยงน้อย และไม่บ่งชี้ถึงตัวผู้เข้าร่วมการวิจัย
- โครงร่างการวิจัยที่เป็นการเก็บข้อมูลจากประวัติการรักษาของผู้ป่วย โดยไม่มีการเชื่อมโยงไปถึงตัวผู้เข้าร่วมการวิจัย
- การขอปรับแก้โครงร่างการวิจัยเดิมเพียงเล็กน้อยไม่ทำให้มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้น และเป็นโครงร่างการที่ผ่านการอนุมัติแล้ว
- การขอปรับแก้ใบยินยอมของโครงร่างการวิจัยเดิมที่ผ่านการอนุมัติแล้ว
- รายงานผู้ป่วยไม่เกิน 10 ราย (Case report, Cases report, Case series)