bt_backward

ผู้ประสานงาน zone แดง (N1)

bt_home

 

 

A. บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ

1. ผู้ประสานงานกับ EOC (รายงานทุก 30 นาที)

2. รายงาน commander พิจารณาการรักษาและส่งต่อ

3. ประสานกับศูนย์เอราวัณ แจ้งจำนวนผู้บาดเจ็บที่จะนำส่งออกไปที่ใด และบันทึกไว้

4. ประสานทีมเคลื่อนย้ายและ EMS

5. บันทึกจำนวนการรักษาผู้ป่วยใน zone รับผิดชอบ

6. ควบคุมการเบิกและส่งของกับที่เดิม เพื่อป้องกันการสูญหาย

7. ดูแลทรัพย์สินผู้ป่วย

 

 

 

 

B. เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่ จะทำอย่างไร/ ไปที่ไหน

1. หากท่านเป็น incharge ปฏิบัติงานอยู่ ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่จากภายนอก (EMS) ให้แจ้งแพทย์เวร ER และรายงานเวรตรวจการพยาบาล/หน.การพยาบาลห้องอุบัติเหตุ/รองผอ.กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล/ผู้อำนวยการ เป็นลำดับชั้นไป เพื่อประกาศใช้แผนรับอุบัติภัยหมู่ (การประกาศใช้แผนฯ Click here)

 

2. Incharge ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมประสานงาน zone ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) (N1) และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการแผนฯชั่วคราว มีหน้าที่กำหนดบทบาทให้ทีมพยาบาล ER ไปประจำตำแหน่งหัวหน้า zone Triage, N2, N3, N4, N5  ประสานงานแพทย์ประจำ zone แดง (EP, ศัลย์)

ระบายผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินออกจาก ER ไป OPD เพื่อเตรียมสถานที่ในการรับอุบัติภัยหมู่ (ผู้ป่วยที่นอนรอเตียง ประสานหอผู้ป่วยเพื่อรับผู้ป่วย admit)

จัดเตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ให้เตรียมพร้อมรับอุบัติภัยหมู่
 

3. หัวหน้า zone ทุกท่านรายงานตัวต่อผู้ช่วยผู้บัญชาการแผนฯ ที่กองอำนวยการ EOC ศูนย์ประสานงานการรับส่งต่อผู้ป่วย (Referral center) ชั้น G ตึกผู้ป่วยนอก โทร.9786, 9624, 9781 เพื่อรับมอบหน้าที่และอุปกรณ์ต่างๆ จัดตั้งและกระจายไปประจำตาม zone เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติงาน และให้มีหน้าที่
3.1 ประสานงานระหว่าง zone กับกองอำนวยการ (EOC) และหน่วยงานอื่นๆ
3.2 ประสานงานกับแพทย์ประจำ zone แดง (แพทย์ EP, ศัลยแพทย์)
3.3 กำหนดบทบาทหน้าที่สมาชิกใน zone
 

4. จัดตั้งทีมผู้ป่วยวิกฤติ (สีแดง) ที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โทร.9672-3 รวบรวมและชี้แจงบทบาทแก่สมาชิก เตรียมเตียงและเครื่องมือให้พร้อมรับผู้ป่วยวิกฤติอย่างน้อย 2 เตียง, clear ผู้ป่วยที่ไม่เร่งด่วนออกจาก ER  รายงานจำนวนเตียงที่พร้อมรับผู้ป่วยแก่ผู้ประสานงาน (ผู้ช่วยผู้บัญชาการเหตุการณ์ คนที่2, กองอำนวยการฯ โทร.9786, 9624, 9781)

ทีมพยาบาล zone สีแดงจะมีทั้งหมด 3 ทีม ประกอบด้วย
ทีม 1
- พยาบาล ER 1 คน (N4) 
- พยาบาล ICUS 1 คน
- NA ICUS , NA ER 2 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

ทีม 2
- พยาบาล ICUS 1 คน
- พยาบาล ศญ 1 คน
- พยาบาล ศช1 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

ทีม3
- พยาบาลวิสัญญี 1 คน
- พยาบาล ศช2 1 คน
- พยาบาล ศญ 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

 

 

 

C. แนวทางปฏิบัติงาน ณ จุดที่รับผิดชอบ (แผนที่ Click here)

การดำเนินงานตาม Action card

1. พยาบาล ER (Assignment : N1-N4) เป็น commander/co-ordinator ในแต่ละ zone
2. การซักประวัติ Injury severity  ไม่ต้องทำ
3. เขียนการรักษาที่บัตรสีคัดแยกที่ผูกมากับผู้บาดเจ็บ (ไม่สามารถทำในคอมพิวเตอร์ได้ทัน) ยกเว้นผู้ป่วยสีแดง  ถ้าต้องรีบส่ง LAB/X-ray  ด่วนให้ใช้ใบ manual
4. ระบบการทำเวชระเบียนจะ identify เป็นตามสี (ตัวอย่าง แดง 001, เหลือง 001.....) ใช้สติ๊กเกอร์ H.N.ชั่วคราว (รหัส 09 xx xxxxxx) ในการระบุตัวผู้ป่วย
5. การ admit ไม่ต้องทำใบ summary  ให้ ward ติดตาม A.N เองเมื่อเสร็จสิ้นภารกิจเร่งด่วน
6. รวบรวมบัตรสีคัดกรองแยกไว้เพื่อสรุปยอด  กรณีที่ admit ให้บันทึกรายชื่อและ ward ไว้เพื่อตามข้อมูล
7. ส่งยอดจำนวนผู้บาดเจ็บให้ศูนย์อำนวยการ (EOC) ศูนย์เอราวัณ ทราบเป็น real  time ทุก 30 นาที (ใบคัดกรองควร run number ไว้เลยจะได้นับยอดคร่าวๆที่ screening ได้ทัน)
8. การทำงานทุกจุด  หากมีปัญหาให้ประสานศูนย์อำนวยการ  และ Command  ทราบ (EOC)
9. งดการให้ข้อมูลใดๆ เกี่ยวกับผู้บาดเจ็บ หรือให้ข่าว  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้แทนจะเป็นผู้ให้ข่าวเอง
10. การโทรสอบถามรายชื่อผู้บาดเจ็บ ให้แจ้งศูนย์โทรศัพท์เป็นผู้ประสานกับประชาสัมพันธ์จัดคนมาตรวจสอบรายชื่อ ถ้ามีการโทรเข้าสายตรงโอนกับไปที่ศูนย์โทรศัพท์
 

 

 

 

เมื่อเสร็จสิ้นภารกิจทุกหัวหน้าทีมทุกโซนรวบรวมข้อมูล

1. จำนวนผู้บาดเจ็บ
2. จำนวนผู้บาดเจ็บที่ส่งต่อ, admit, เสียชีวิต, ปฏิเสธการรักษา
3. ทรัพย์สินผู้บาดเจ็บ
4. ปัญหาและอุปสรรค เหตุการณ์ ความเสี่ยงต่างๆ
5. รวบรวมบัตรสีคัดแยกผู้บาดเจ็บ เพื่อติดตามลงทะเบียนทางคอมพิวเตอร์
6. รวบรวมใบสั่งยาส่งการเงิน และศูนย์สิทธิ์ต่างๆ เพื่อรวบรวมค่าใช้จ่าย

 

 

 

การส่งต่อรักษาโรงพยาบาลอื่น

1. หัวหน้าโซนแต่ละโซน แจ้งผ่านมาที่ EOC เพื่อดำเนินการประสานการส่งต่อ
2. แจ้งผู้บัญชาการทราบ  เพื่อประสานการส่งต่อ  ติดต่อโรงพยาบาลและรถพยาบาลในการเคลื่อนย้าย
3. ประสานศูนย์เอราวัณ เพื่อช่วยประสานโรงพยาบาลเพื่อรับรักษาต่อ
4. บันทึกข้อมูลการรักษา  การส่งต่อ และเหตุผลในการส่งต่อ
5. แจ้งประชาสัมพันธ์ บันทึกการเข้า-ออกของผู้ป่วยที่บอร์ดประชาสัมพันธ์
6. แต่ละโซนบันทึกและรวบรวมจำนวนผู้ป่วยที่ส่งต่อ
7. กรณีผู้ป่วยมีทรัพย์สิน ให้บันทึกทรัพย์สินและส่งต่อให้รถพยาบาล ส่งต่อให้กับพยาบาลของโรงพยาบาลที่รับรักษาต่อ
8. ระหว่างรอส่งต่อให้ monitor อาการอย่างใกล้ชิดจนกว่าจะนำส่งต่อ
 

 

 

 

การบันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บและส่งข้อมูล

1. ส่งข้อมูลให้กับกองอำนวยการ ให้ทราบจำนวนยอดผู้บาดเจ็บคร่าวๆ
2. บันทึกข้อมูลผู้บาดเจ็บในแบบฟอร์ม 2 ของศูนย์เอราวัณคร่าวๆ  โดยส่งยอดผู้บาดเจ็บ ชื่อ-สกุล ให้ศูนย์เอราวัณทราบที่หมายเลขโทรสาร 02-622-6265, Email: ems.bangkok@hotmail.com
3. Complete ข้อมูลผู้บาดเจ็บในแบบฟอร์ม 2 และส่งให้ศูนย์เอราวัณต่อเมื่อสิ้นสุดเวร หรือสิ้นสุดการประกาศแผนอุบัติภัยหมู่
4. สรุปรายงานการดูแลผู้บาดเจ็บเหตุอุบัติภัยหมู่ให้ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหรือผู้เกี่ยวข้อง
 

 

 

 

ข้อปฏิบัติอื่น ๆ

1. การส่งผู้ป่วยไปเอกซเรย์จากโซนสีต่างๆ ควรจัดลำดับความรุนแรงของผู้บาดเจ็บในโซนนั้นๆ
2. หลีกเลี่ยงการนำผู้บาดเจ็บที่มีความรุนแรงน้อยส่งไปเอกซเรย์ก่อนผู้ป่วยหนัก จัดลำดับความเร่งด่วนของผู้ป่วย และลดการแออัดที่ห้องเอกซเรย์ โดยประสานเอกซเรย์ เพื่อทราบประเภทและจำนวนผู้บาดเจ็บ  ควรให้กลุ่มสีแดงและเหลืองได้ทำก่อน จึงค่อยส่งสีเขียว
3. กรณีผู้บาดเจ็บไม่ให้ความยินยอมรักษา ให้บันทึกไว้ในแฟ้มประวัติ และเซ็นต์ใบไม่สมัครใจรักษาตามระเบียบการปฏิบัติเดิม
4. เก็บรวบรวม OPD card แยกไว้ต่างหาก ไม่ส่งส่งคืนไปห้องบัตร ให้เก็บไว้ในกล่องเดียวกันที่ ER