bt_backward

แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน

bt_home

 

 

A. บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ

1. บัญชาการ/ร่วมทีมบริหารสถานการณ์

2. หัวหน้า/ร่วมทีมตรวจรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) (Triage Click Here)

3. หัวหน้าทีมคัดกรอง

4. หัวหน้าทีม EMS ณ จุดเกิดเหตุ (Pre-hospital)

 

 

 

B. เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่ จะทำอย่างไร/ ไปที่ไหน

1. หากท่านปฏิบัติงานอยู่ ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ให้แจ้งหน.กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน และหน.กลุ่มงานศัลยศาสตร์ เพื่อประกาศใช้แผนรับอุบัติภัยหมู่เลิดสิน สายด่วนศูนย์โทรศัพท์ 1234

2. แพทย์ที่ปฏิบัติงานอยู่ ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉินในขณะนั้น ให้กำหนดหัวหน้าทีมตรวจรักษาผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) และปฏิบัติหน้าที่เป็นหัวหน้าแพทย์ผู้สั่งการ (Chief Medical Officer) ชั่วคราว กำหนดหน้าที่ให้แพทย์อื่นๆ (Click here)

3. แพทย์ที่เข้าร่วมปฏิบัติการ ให้รายงานตัวกับหัวหน้าแพทย์ผู้สั่งการ เพื่อรับทราบบทบาทหน้าที่ ที่กองอำนวยการ (ห้อง Referral Center) ชั้นG ตึกผู้ป่วยนอก โทร.9786, 9624, 9781 หรือที่ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

4. แพทย์ที่ถูกกำหนดประจำจุดคัดกรอง ให้ประสานงานกับทีมพยาบาลคัดกรอง ตั้งจุดคัดกรองบริเวณประตูทางเข้าโรงพยาบาลด้านถนนสีลม

5. แพทย์ที่ถูกกำหนดให้ออกปฏิบัติงาน ณ จุดเกิดเหตุ ให้ประสานทีม EMS พร้อมกันที่ศูนย์กู้ชีพ

6. แพทย์ที่ถูกกำหนดให้เป็นผู้บัญชาการสถานการณ์

 

 

 

C. แนวทางปฏิบัติงาน ณ จุดที่รับผิดชอบ (แผนที่ Click here)

Zone แดง /ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน /ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง

1. Triage sort, re-allocate หากผู้ป่วยมีการเปลี่ยนแปลง
2. ตรวจรักษาผู้ป่วยวิกฤตและทำหัตถการที่เร่งด่วน
3. คำสั่งการรักษาพยาบาล ส่งตรวจ lab/x-ray ให้เขียนใน MC Card
4. ลงบันทึกการตรวจร่างกาย ลักษณะบาดแผล, เอกซเรย์, การรักษาพยาบาล, การวินิจฉัย, การส่งต่อผู้ป่วย และลงชื่อทุกครั้งใน MC Card
5. ให้การรักษาผู้ป่วยวิกฤตจนกว่าจะมีอาการคงที่ และส่งต่อผู้ป่วยเข้ารักษาในหอผู้ป่วยหรือห้องผ่าตัด หรือ refer โดยเร็วที่สุด
6. ประสานงานพยาบาลหัวหน้า Resuscitation zone

 

 

 

Triage /จุดคัดกรอง ประตูทางเข้ารพ.ด้านถนนสีลม /ผู้ป่วยทั้งหมด

1. รับผู้ป่วยและคัดกรองผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม
ผู้ป่วยสีแดง วิกฤติ สัญญานชีพไม่คงที่ ต้องได้รับการตรวจรักษาทันที มิเช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้
ผู้ป่วยสีเหลือง  รุนแรงปานกลาง สัญญานชีพคงที่แต่ก็อาจเปลี่ยนแปลงแย่ลงได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องได้รับการตรวจรักษาโดยเร็ว (ภายใน 1 ชม.)
ผู้ป่วยสีเขียว  บาดเจ็บเล็กน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถรอรับการรักษาได้ (ภายใน 2-3 ชม.)
ผู้ป่วยสีดำ  บาดเจ็บรุนแรงและมีโอกาสรอดน้อยมาก หรือเสียชีวิตแล้ว

2. อุปกรณ์ระบุตัวบุคคลใช้ MC card พร้อมกับ barcode H.N. คล้องข้อมือ สวมป้าย (MC card) และป้ายข้อมือให้หมายเลขตรงกัน ให้เซ็นต์ชื่อพร้อมลงเวลาบนแผ่น MC card สีที่กำหนดให้ผู้ป่วย  หากมีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มของผู้ป่วยในภายหลัง ให้ผู้ที่คัดกรองใหม่ขีดค่าลายเซ็นต์เดิม แล้วเซ็นต์ชื่อพร้อมลงเวลาบนแผ่น MC card สีใหม่

3. ส่งผู้ป่วยไปตามจุดที่กำหนด
Zone แดง
- ที่ตั้ง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ชั้น G อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง ประตู 2 ห้องฉุกเฉิน
Zone เหลือง
- ที่ตั้ง โถงรอตรวจห้องฉุกเฉิน/พื้นที่โดยรอบ ชั้นG อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง  ประตูโถงรอตรวจห้องฉุกเฉิน
Zone เขียว
- ที่ตั้ง เต็นท์ลงทะเบียน ข้างตกกาญจนาภิเษก
- จุดรับส่ง  ข้างตึกกาญจนาภิเษก
Zone ดำ
- ที่ตั้ง หอผู้ป่วยตา ชั้น12 อาคารกาญจนาภิเษก
- จุดรับส่ง  ทางเข้าอาคารกาญจนาภิเษก

 

 

 

EMS /ออกปฏิบัติการ ณ จุดเกิดเหตุ /Pre-hospital care

1. ร่วมกับทีม EMS ออกให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้น, ช่วยฟื้นคืนชีพ ณ จุดเกิดเหตุ
2. บัญชาการ ประเมินความรุนแรงของเหตุการณ์ ณ จุดเกิดเหตุ
3. คัดกรอง จำแนกผู้ป่วย และลำเลียงผู้ป่วยตามความรุนแรง ไปสถานพยาบาลในเครือข่ายที่เหมาะสม
4. รายงานสถานการณ์ ประสานงานศูนย์สั่งการฯและหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง