bt_backward

พยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน

bt_home

 

 

A. บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ

1. บัญชาการ/ร่วมทีมบริหารสถานการณ์ (ผู้ช่วยผู้บัญชาการแผนคนที่ 2) (Click here)

 

2. หัวหน้าทีมประสานงาน zone ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) (Incharge)

- ผู้ประสานงานกับ EOC (รายงานทุก 30 นาที)
- รายงาน commander พิจารณาการรักษาและส่งต่อ
- ประสานกับศูนย์เอราวัณ แจ้งจำนวนผู้บาดเจ็บที่จะนำส่งออกไปที่ใด และบันทึกไว้
- ประสานทีมเคลื่อนย้ายและ EMS
- บันทึกจำนวนการรักษาผู้ป่วยใน zone รับผิดชอบ
- ควบคุมการเบิกและส่งของกับที่เดิม เพื่อป้องกันการสูญหาย
- ดูแลทรัพย์สินผู้ป่วย

 

3. หัวหน้าทีมการพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) (Resuscitation Zone Leader)

 

4. หัวหน้าทีมประสานงาน/การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บปานกลาง (สีเหลือง) (Urgent Zone Leader)

- เป็นผู้ประสานงานกับ EOC (รายงานทุก 30 นาที)
- ให้การพยาบาลผู้บาดเจ็บปานกลาง
- ส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เหมาะสม
- บันทึกจำนวนการรักษาผู้ป่วยใน zone รับผิดชอบ
- ควบคุมการเบิกและส่งของกับที่เดิม เพื่อป้องกันการสูญหาย
- ดูแลทรัพย์สินผู้ป่วย

 

5. หัวหน้าทีมประสานงาน/การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย (สีเขียว) (Urgent Zone Member)

- เป็นผู้ประสานงานกับ EOC (รายงานทุก 30 นาที)
- ให้การพยาบาลผู้บาดเจ็บเล็กน้อย
- ถ้ามีจำนวนมากๆ ให้ประสานศูนย์อำนวยการเพื่อส่งผู้บาดเจ็บไปรักษาที่โรงพยาบาลอื่น
- ไม่ส่งผู้บาดเจ็บไป x-ray จนกว่าผู้บาดเจ็บสีแดงและเหลืองจะส่งตรวจและรักษาเสร็จแล้ว หรืออาจนัดมาตรวจ และ x-ray ได้ในวันถัดไป
- ประสานห้องยา เรื่องการรับยา โดยใช้บัตรสีผูกข้อมือยื่นรับยาได้เลยและให้ห้องยาเก็บไว้  เพื่อรวบรวมรายชื่อส่ง
- บันทึกจำนวนการรักษาผู้ป่วยใน zone รับผิดชอบ
- ควบคุมการเบิกและส่งของกับที่เดิม เพื่อป้องกันการสูญหาย
- ดูแลทรัพย์สินผู้ป่วย

 

6. หัวหน้าทีมประสานงาน/การพยาบาลผู้ป่วยหมดหวัง/เสียชีวิต (สีดำ) (Nurse Aid)

- เป็นผู้ประสานงานกับ EOC (รายงานทุก 30 นาที)
- ช่วยแพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียชีวิต บันทึกบาดแผลลงใน MC card ถ่ายรูปเป็นหลักฐาน
- ดูแลทรัพย์สินและบันทึกลักษณะ
- เขียนป้ายติดตัวผู้เสียชีวิต ตามหลักฐานที่ปรากฎแน่ชัด
- ขนย้ายศพไปห้องศพ
- บันทึกจำนวนผู้เสียชีวิต รายงานศูนย์ประสานงาน

 

 

 

B. เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่ จะทำอย่างไร/ ไปที่ไหน

1. หากท่านเป็น incharge ปฏิบัติงานอยู่ ณ ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่จากภายนอก (EMS) ให้แจ้งแพทย์เวร ER และรายงานเวรตรวจการพยาบาล/หน.การพยาบาลห้องอุบัติเหตุ/รองผอ.กลุ่มภารกิจด้านการพยาบาล/ผู้อำนวยการ เป็นลำดับชั้นไป เพื่อประกาศใช้แผนรับอุบัติภัยหมู่ สายด่วนศูนย์โทรศัพท์ 1234 (การประกาศใช้แผนฯ Click here)

 

2. Incharge ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมประสานงาน zone ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) (Resuscitation Zone Leader) และเป็นผู้ช่วยผู้บัญชาการแผนฯชั่วคราว มีหน้าที่กำหนดบทบาทให้ทีมพยาบาล ER ไปประจำตำแหน่งหัวหน้า zone ต่าง ๆ  ประสานงานแพทย์ประจำ zone แดง (EP, ศัลยกรรม)

ระบายผู้ป่วยที่ไม่ฉุกเฉินออกจาก ER ไป OPD เพื่อเตรียมสถานที่ในการรับอุบัติภัยหมู่ (ผู้ป่วยที่นอนรอเตียง ประสานหอผู้ป่วยเพื่อรับผู้ป่วย admit)

จัดเตรียมอุปกรณ์ เวชภัณฑ์ ให้พร้อมรับอุบัติภัยหมู่
 

3. หัวหน้า zone ทุกท่านรายงานตัวต่อผู้ช่วยผู้บัญชาการแผนฯ ที่กองอำนวยการ EOC ศูนย์ประสานงานการรับส่งต่อผู้ป่วย (Referral center) ชั้น G ตึกผู้ป่วยนอก โทร.9786, 9624, 9781 เพื่อรับมอบหน้าที่และอุปกรณ์ต่างๆ จัดตั้งและกระจายไปประจำตาม zone เตรียมอุปกรณ์ให้พร้อมปฏิบัติงาน และให้มีหน้าที่
3.1 ประสานงานระหว่าง zone กับกองอำนวยการ (EOC) และหน่วยงานอื่นๆ
3.2 ประสานงานกับแพทย์ประจำ zone
3.3 กำหนดบทบาทหน้าที่สมาชิกใน zone

 

4. พยาบาลคัดกรอง ให้ประสานงานกับแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉินที่ถูกกำหนดประจำจุดคัดกรอง ตั้งจุดคัดกรองบริเวณประตูทางเข้าโรงพยาบาลด้านถนนสีลม

 

5. หัวหน้า zone สีเหลือง Urgent Zone Leader (ผู้ป่วยบาดเจ็บปานกลาง) จัดเตรียมสถานที่/อุปกรณ์ บริเวณโถงรอตรวจห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน และบริเวณโดยรอบ ชั้น G ตึกผู้ป่วยนอก  ประสานงานกับแพทย์ประจำ zone (ศัลยกรรม, ศัลยกรรมกระดูก, เวชศาสตร์ครอบครัว)

 

6. หัวหน้า zone สีเขียว Urgent Zone Member (ผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย) จัดเตรียมสถานที่/อุปกรณ์ บริเวณเต็นท์ขาว ข้างตึกกาญจนาภิเษก โทร 3011  ประสานงานกับแพทย์ประจำ zone (ศัลยกรรมกระดูก, เวชศาสตร์ฟื้นฟู, สูติ-นรีเวช, อายุรกรรม)

 

7. หัวหน้า zone สีดำ Nurse Aid ER (ผู้ป่วยสิ้นหวัง/เสียชีวิต) จัดเตรียมสถานที่/อุปกรณ์ บริเวณหอผู้ป่วยตา ชั้น12 อาคารกาญจนาภิเษก โทร. 9862-3  ประสานงานกับแพทย์ประจำ zone (ตา หู คอ จมูก, กุมารเวชศาสตร์, พยาธิวิทยา, ทันตกรรม)

 

 

 

 

C. แนวทางปฏิบัติงาน ณ จุดที่รับผิดชอบ (แผนที่ Click here)

Zone แดง /ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน /ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง

พยาบาล ER ตำแหน่ง Resuscitation Zone Leader
1. ทำหน้าที่เป็น Leader ในทีมรักษาพยาบาล ตรวจสอบและสรุปแผนงานให้สมาชิกในทีมทราบ
2. ดำเนินการและประสานงานเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น ส่ง x-ray, admit, OR 
3. บันทึกข้อมูลผู้ป่วย หัตถการ และเวชภัณฑ์ต่างๆใน zone ที่รับผิดชอบก่อนการจำหน่าย
4. รวบรวมจำนวนผู้ป่วย สรุปอาการ การรักษาคร่าวๆ ส่งผู้ช่วยผบ.1 ก่อนยุติการใช้แผน

 

ทีมพยาบาล zone สีแดงจะมีทั้งหมด 3 ทีม ประกอบด้วย
ทีม 1
- พยาบาล ER 1 คน (Resuscitation Zone Member) 
- พยาบาล ICUS 1 คน
- NA ICUS , NA ER 2 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

ทีม 2
- พยาบาล ICUS 1 คน
- พยาบาล ศญ 1 คน
- พยาบาล ศช1 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

ทีม3
- พยาบาลวิสัญญี 1 คน
- พยาบาล ศช2 1 คน
- พยาบาล ศญ 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

 

1. Triage sort เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้เปลี่ยนป้ายสี
2. ตรวจสอบป้ายข้อมือกับ MC Card ให้ตรงกัน
3. ปฏิบัติการพยาบาลและให้การรักษาตามคำสั่งแพทย์ ดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. ช่วยแพทย์ทำหัตถการ
5. บันทึกข้อมูลใน MC Card เช่น V/S, ลักษณะบาดแผล, การให้ยารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับหลังทำหัตถการหรือให้ยา รวมทั้งตรวจสอบ MC Card ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
6. ร่วมตรวจสอบทรัพย์สินผู้ป่วย ถ่ายรูปเป็นหลักฐาน กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวกับเจ้าหน้าที่การเงิน
7. ติดตามดูแลและนำส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยงานอื่น หอผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับด้วยทุกครั้ง

 

 

 

Triage /จุดคัดกรอง ประตูทางเข้ารพ.ด้านถนนสีลม /ผู้ป่วยทั้งหมด

ทีม Triage ประกอบด้วย
- แพทย์ EP 1 คน
- พยาบาลคัดกรอง
- NA
- พนักเปล 2 คน
- เจ้าหน้าที่เวชระเบียน

 

อุปกรณ์ที่จุดคัดกรอง ประกอบด้วย
1. บัตรผู้ป่วย (MC card) 100 ชุด พร้อม H.N.ชั่วคราว (รหัส 09 xx xxxxxx)
100 แผ่น
2. โทรโข่ง 1 เครื่อง
3. ไฟฉาย 1 อัน
4. หูฟัง 1 อัน
5. ถุงมือ 1 กล่อง
6. เปลตัก 2 อัน
7. Long spinal board 3 อัน
8. รถนั่ง 15 คัน
9. รถนอน 15 คัน
10. ซองแผน
11. วิทยุสื่อสารระหว่างโซน 4 เครื่อง

 

1. รับผู้ป่วยและคัดกรองผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม
ผู้ป่วยสีแดง วิกฤติ สัญญานชีพไม่คงที่ ต้องได้รับการตรวจรักษาทันที มิเช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้
ผู้ป่วยสีเหลือง  รุนแรงปานกลาง สัญญานชีพคงที่แต่ก็อาจเปลี่ยนแปลงแย่ลงได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องได้รับการตรวจรักษาโดยเร็ว (ภายใน 1 ชม.)
ผู้ป่วยสีเขียว  บาดเจ็บเล็กน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถรอรับการรักษาได้ (ภายใน 2-3 ชม.)
ผู้ป่วยสีดำ  บาดเจ็บรุนแรงและมีโอกาสรอดน้อยมาก หรือเสียชีวิตแล้ว

2. อุปกรณ์ระบุตัวบุคคลใช้ MC card พร้อมกับ barcode H.N. คล้องข้อมือ สวมป้าย (MC card) และป้ายข้อมือให้หมายเลขตรงกัน ให้เซ็นต์ชื่อพร้อมลงเวลาบนแผ่น MC card สีที่กำหนดให้ผู้ป่วย  หากมีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มของผู้ป่วยในภายหลัง ให้ผู้ที่คัดกรองใหม่ขีดค่าลายเซ็นต์เดิม แล้วเซ็นต์ชื่อพร้อมลงเวลาบนแผ่น MC card สีใหม่

3. ส่งผู้ป่วยไปตามจุดที่กำหนด
Zone แดง
- ที่ตั้ง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ชั้น G อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง ประตู 2 ห้องฉุกเฉิน
Zone เหลือง
- ที่ตั้ง โถงรอตรวจห้องฉุกเฉิน/พื้นที่โดยรอบ ชั้นG อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง  ประตูโถงรอตรวจห้องฉุกเฉิน
Zone เขียว
- ที่ตั้ง ห้องตรวจกระดูก ชั้น2 อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง  ทางเข้าห้องทานตะวัน

Zone ดำ
- ที่ตั้ง หอผู้ป่วยตา ชั้น12 อาคารกาญจนาภิเษก
- จุดรับส่ง  ทางเข้าอาคารกาญจนาภิเษก ด้านตึกส่งเสริมบริการ

4. รวบรวมจำนวนผู้ป่วยบาดเจ็บทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ช่วยผู้บัญชาการแผนคนที่ 1

 

 

 

 

Zone เหลือง /พื้นที่รอบห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน /ผู้ป่วยบาดเจ็บปานกลาง

พยาบาล ER ตำแหน่ง N2
1. ทำหน้าที่เป็น Leader ในทีมรักษาพยาบาล ตรวจสอบและสรุปแผนงานให้สมาชิกในทีมทราบ
2. ดำเนินการและประสานงานเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น ส่ง x-ray, admit, OR 
3. บันทึกข้อมูลผู้ป่วย หัตถการ และเวชภัณฑ์ต่างๆใน zone ที่รับผิดชอบก่อนการจำหน่าย
4. รวบรวมจำนวนผู้ป่วย สรุปอาการ การรักษาคร่าวๆ ส่งผู้ช่วยผบ.1 ก่อนยุติการใช้แผน

 

ทีมพยาบาล zone สีเหลือง ประกอบด้วย
- พยาบาล ER (N2) 1 คน
- พยาบาล GP 1 คน
- พยาบาล OPD ศัลย์ 1 คน
- พยาบาล ศกช1 1 คน
- พยาบาล ศกช2 1 คน
- พยาบาล ศกญ 1 คน
- ICU Med 1 คน (เสริมอีก 1 คน แผนเลิดสิน2)
- พยาบาลไตเทียม 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน2)
- พยาบาล วฉ. 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน2)
- NA GP 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน2)

 

1. Triage sort เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้เปลี่ยนป้ายสี
2. ตรวจสอบป้ายข้อมือกับ MC Card ให้ตรงกัน
3. ปฏิบัติการพยาบาลและให้การรักษาตามคำสั่งแพทย์ ดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. ช่วยแพทย์ทำหัตถการ
5. บันทึกข้อมูลใน MC Card เช่น V/S, ลักษณะบาดแผล, การให้ยารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับหลังทำหัตถการหรือให้ยา รวมทั้งตรวจสอบ MC Card ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
6. ร่วมตรวจสอบทรัพย์สินผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวกับเจ้าหน้าที่การเงิน
7. ติดตามดูแลและนำส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยงานอื่น หอผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับด้วยทุกครั้ง
8. ดูแลและให้การพยาบาล หรือจำหน่ายผู้ป่วยในห้องสังเกตอาการที่ยังค้างอยู่ใน ER ร่วมกับแพทย์

 

 

 

Zone เขียว/เต็นท์ขาว ข้างตึกกาญจนาภิเษก/ผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย

พยาบาล ER ตำแหน่ง Urgent Zone Member
1. ทำหน้าที่เป็น Leader ในทีมรักษาพยาบาล ตรวจสอบและสรุปแผนงานให้สมาชิกในทีมทราบ
2. ดำเนินการและประสานงานเรื่องการเคลื่อนย้ายผู้ป่วย เช่น ส่ง x-ray 
3. บันทึกข้อมูลผู้ป่วย หัตถการ และเวชภัณฑ์ต่างๆใน zone ที่รับผิดชอบก่อนการจำหน่าย
4. รวบรวมจำนวนผู้ป่วย สรุปอาการ การรักษาคร่าวๆ ส่งผู้ช่วยผบ.1 ก่อนยุติการใช้แผน

 

ทีมพยาบาล zone สีเขียว ประกอบด้วย
- พยาบาลห้องตรวจกระดูก 2 คน
- พยาบาล OPD Med
- พยาบาล OPD สูติ-นรีเวช 1 คน
- พยาบาล อช 1 คน
- พยาบาลนรีเวช 1 คน
- พยาบาลหอผู้ป่วยพิเศษชั้น 21, 22
- พยาบาลห้องคลอด 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน2)
- พยาบาลหอผู้ป่วยพิเศษชั้น 19, 23 (เสริม แผนเลิดสิน2)

 

อุปกรณ์ที่เตรียมไปด้วย
- เครื่องวัดความดันโลหิต 2 เครื่อง จากห้องคลอดและ OPD สูติ-นรีเวช
- รถ Emergency
- รถให้ IV

 

1. Triage sort เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้เปลี่ยนป้ายสี
2. ตรวจสอบป้ายข้อมือกับ MC Card ให้ตรงกัน
3. ปฏิบัติการพยาบาลและให้การรักษาตามคำสั่งแพทย์ ดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. ช่วยแพทย์ทำหัตถการ
5. บันทึกข้อมูลใน MC Card เช่น V/S, ลักษณะบาดแผล, การให้ยารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับหลังทำหัตถการหรือให้ยา รวมทั้งตรวจสอบ MC Card ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
6. ติดตามดูแลและนำส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยงานอื่น หอผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับด้วยทุกครั้ง
7. ดูแลและให้การพยาบาล หรือจำหน่ายผู้ป่วย นัดหมายติดตามอาการตามคำสั่งแพทย์

 

 

 

Zone ดำ /Ward Eye ENT /ผู้ป่วยหมดหวัง หรือเสียชีวิต

Nurse Aid ER
1. ทำหน้าที่เป็น Leader ในทีมรักษาพยาบาล ตรวจสอบและสรุปแผนงานให้สมาชิกในทีมทราบ
2. ดำเนินการและประสานงานเรื่องการเคลื่อนย้ายศพ
3. บันทึกข้อมูลผู้ป่วย อุปกรณ์ต่างๆที่ใช้ใน zone ที่รับผิดชอบก่อนการจำหน่าย
4. รวบรวมจำนวนผู้ป่วย สรุปส่งผู้ช่วยผบ.1 ก่อนยุติการใช้แผน

 

ทีมพยาบาล zone สีดำ ประกอบด้วย
- พยาบาล ตา หู คอ จมูก
- พยาบาล อญ 1 คน
- พยาบาล กุมาร 1 คน
- พยาบาล พิเศษศกช-ญ 1 คน
- พยาบาล ศกด 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน2)
- พยาบาล OPD EENT (เสริม แผนเลิดสิน2)
- จนท.ห้องเก็บศพ 1 คน (เสริมอีก 1 คน แผนเลิดสิน2)

 

1. ประสานแพทย์ วินิจฉัยผู้ป่วยใน zone สีดำ ยืนยันการเสียชีวิตของผู้ป่วย
2. ช่วยแพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียชีวิต บันทึกบาดแผล ลงใน MC Card
2. ดูแลเก็บทรัพย์สินผู้เสียชีวิตและลงบันทึก ร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน
3. เขียนป้ายติดตัวผู้เสียชีวิตตามหลักฐานที่ปรากฎแน่ชัด
4. บันทึกจำนวนผู้เสียชีวิต รายงานผช.แผน 1
5. จนท.ห้องเก็บศพ เคลื่อนย้ายศพไปสถาบันนิติเวช เพื่อให้แพทย์นิติเวชชันสูตร