bt_backward

ICU ศัลยกรรม

bt_home

 

 

A. บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ

1. ให้การพยาบาลผู้ป่วยอุบัติเหตุฉุกเฉิน วิกฤติ

2. หัวหน้าทีมให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) (ทีม 2)

3. ร่วมทีมให้การพยาบาลผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง (สีแดง) (ทีม 1)

 

 

 

B. เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่ จะทำอย่างไร/ ไปที่ไหน

1. หากท่านเป็น incharge ปฏิบัติงานอยู่ ณ ICU ศัลย์ เมื่อได้รับแจ้งใช้แผนรับอุบัติภัยหมู่ ให้แจ้งหน.ICU ศัลยกรรม (การประกาศใช้แผนฯ Click here)

 

2. Incharge ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมประสานงาน มีหน้าที่กำหนดบทบาทให้พยาบาล ICU ศัลย์ 1 คนเป็นหัวหน้าทีมผู้ป่วยวิกฤติ (สีแดง) ทีมที่ 2 และ 1 คนร่วมทีมผู้ป่วยวิกฤติ (สีแดง) ทีมที่ 1 ที่ห้องฉุกเฉิน  เตรียมเตียงและเครื่องมือให้พร้อมรับผู้ป่วยวิกฤติ อย่างน้อย 2 เตียง  รายงานจำนวนเตียงที่พร้อมรับผู้ป่วยแก่ผู้ประสานงาน (ผู้ช่วยผู้บัญชาการเหตุการณ์ คนที่ 2, กองอำนวยการฯ โทร.9786, 9624, 9781)

 

3. จนท. ICU ศัลย์ทุกท่านให้ไปประจำที่ห้อง ICU ศัลย์ ชั้น 6 อาคารกาญจนาภิเษก พยาบาลทีมผู้ป่วยวิกฤติ (สีแดง) ให้ไปรายงานตัวกับหัวหน้าทีมพยาบาลสีแดง (Resuscitation Zone Leader) ที่ห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน ชั้น G ตึกผู้ป่วยนอก โทร .9672-3

 

4. ประสานงานแพทย์เจ้าของไข้ พยายาม clear เตียงให้ว่างมากที่สุด เตรียมเครื่องมือให้พร้อมใช้งานภายใน 30 นาที

 

 

 

 

 

C. แนวทางปฏิบัติงาน ณ จุดที่รับผิดชอบ (แผนที่ Click here)

ICU ศัลยกรรม

1. ให้การพยาบาลผู้ป่วยวิกฤติตามแนวทาง
2. การ register เข้าระบบ ให้ใช้ H.N.ชั่วคราวที่มาพร้อม MC card (รหัส 09 xx xxxxxx)
3. รวบรวมจำนวนผู้ป่วย สรุปอาการ การรักษาคร่าวๆ ส่งผู้ช่วยผบ.1 ก่อนยุติการใช้แผน
 

 

 

 

Zone แดง /ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน /ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง

ทีมพยาบาล zone สีแดงจะมีทั้งหมด 3 ทีม ประกอบด้วย
ทีม 1
- พยาบาล ER 1 คน (Resuscitation Zone Member) 
- พยาบาล ICUS 1 คน
- NA ICUS , NA ER 2 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

ทีม 2
- พยาบาล ICUS 1 คน
- พยาบาล ศญ 1 คน
- พยาบาล ศช1 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

ทีม3
- พยาบาลวิสัญญี 1 คน
- พยาบาล ศช2 1 คน
- พยาบาล ศญ 1 คน (เสริม แผนเลิดสิน 2)

 

1. Triage sort เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้เปลี่ยนป้ายสี
2. ตรวจสอบป้ายข้อมือกับ MC Card ให้ตรงกัน
3. ปฏิบัติการพยาบาลและให้การรักษาตามคำสั่งแพทย์ ดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. ช่วยแพทย์ทำหัตถการ
5. บันทึกข้อมูลใน MC Card เช่น V/S, ลักษณะบาดแผล, การให้ยารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับหลังทำหัตถการหรือให้ยา รวมทั้งตรวจสอบ MC Card ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
6. ร่วมตรวจสอบทรัพย์สินผู้ป่วย ถ่ายรูปเป็นหลักฐาน กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวกับเจ้าหน้าที่การเงิน
7. ติดตามดูแลและนำส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยงานอื่น หอผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับด้วยทุกครั้ง