bt_backward

Ward อื่นๆ

bt_home

 

 

A. บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ

พร้อมในที่ตั้ง เข้าช่วยเหลือ zone ที่ต้องการเมื่อได้รับการร้องขอ

 

 

 

B. เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่ จะทำอย่างไร/ ไปที่ไหน

1. หากท่านเป็น incharge ปฏิบัติงานอยู่ ณ หอผู้ป่วยของท่าน เมื่อได้รับแจ้งใช้แผนรับอุบัติภัยหมู่ ให้แจ้งหน.หอผู้ป่วยของท่าน (การประกาศใช้แผนฯ Click here)

 

2. เจ้าหน้าที่ทุกท่านให้ไปประจำที่หน่วยงาน รายงานตัวกับหัวหน้าหน่วยงานหรือ incharge

 

3. ท่านสามารถแสดงความจำนงค์เข้าร่วมปฏิบัติการใน zone ใดก็ได้ โดยไปรายงานตัวกับห้วหน้า zone ที่เกี่ยวข้อง

 

 

 

 

 

C. แนวทางปฏิบัติงาน ณ จุดที่รับผิดชอบ (แผนที่ Click here)

Zone แดง /ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน /ผู้ป่วยบาดเจ็บรุนแรง

1. Triage sort เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้เปลี่ยนป้ายสี
2. ตรวจสอบป้ายข้อมือกับ MC Card ให้ตรงกัน
3. ปฏิบัติการพยาบาลและให้การรักษาตามคำสั่งแพทย์ ดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. ช่วยแพทย์ทำหัตถการ
5. บันทึกข้อมูลใน MC Card เช่น V/S, ลักษณะบาดแผล, การให้ยารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับหลังทำหัตถการหรือให้ยา รวมทั้งตรวจสอบ MC Card ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
6. ร่วมตรวจสอบทรัพย์สินผู้ป่วย ถ่ายรูปเป็นหลักฐาน กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวกับเจ้าหน้าที่การเงิน
7. ติดตามดูแลและนำส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยงานอื่น หอผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับด้วยทุกครั้ง

 

 

 

Triage /จุดคัดกรอง ประตูทางเข้ารพ.ด้านถนนสีลม /ผู้ป่วยทั้งหมด

1. รับผู้ป่วยและคัดกรองผู้ป่วยเป็น 4 กลุ่ม
ผู้ป่วยสีแดง วิกฤติ สัญญานชีพไม่คงที่ ต้องได้รับการตรวจรักษาทันที มิเช่นนั้นอาจเสียชีวิตได้
ผู้ป่วยสีเหลือง  รุนแรงปานกลาง สัญญานชีพคงที่แต่ก็อาจเปลี่ยนแปลงแย่ลงได้ ช่วยเหลือตัวเองไม่ได้ ต้องได้รับการตรวจรักษาโดยเร็ว (ภายใน 1 ชม.)
ผู้ป่วยสีเขียว  บาดเจ็บเล็กน้อย ช่วยเหลือตัวเองได้ สามารถรอรับการรักษาได้ (ภายใน 2-3 ชม.)
ผู้ป่วยสีดำ  บาดเจ็บรุนแรงและมีโอกาสรอดน้อยมาก หรือเสียชีวิตแล้ว

2. อุปกรณ์ระบุตัวบุคคลใช้ MC card พร้อมกับ barcode H.N. คล้องข้อมือ สวมป้าย (MC card) และป้ายข้อมือให้หมายเลขตรงกัน ให้เซ็นต์ชื่อพร้อมลงเวลาบนแผ่น MC card สีที่กำหนดให้ผู้ป่วย  หากมีการเปลี่ยนแปลงกลุ่มของผู้ป่วยในภายหลัง ให้ผู้ที่คัดกรองใหม่ขีดค่าลายเซ็นต์เดิม แล้วเซ็นต์ชื่อพร้อมลงเวลาบนแผ่น MC card สีใหม่

3. ส่งผู้ป่วยไปตามจุดที่กำหนด
Zone แดง
- ที่ตั้ง ห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน ชั้น G อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง ประตู 2 ห้องฉุกเฉิน
Zone เหลือง
- ที่ตั้ง โถงรอตรวจห้องฉุกเฉิน/พื้นที่โดยรอบ ชั้นG อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง  ประตูโถงรอตรวจห้องฉุกเฉิน
Zone เขียว
- ที่ตั้ง ห้องตรวจกระดูก ชั้น2 อาคารผู้ป่วยนอก
- จุดรับส่ง  ทางเข้าห้องทานตะวัน

Zone ดำ
- ที่ตั้ง หอผู้ป่วยตา ชั้น12 อาคารกาญจนาภิเษก
- จุดรับส่ง  ทางเข้าอาคารกาญจนาภิเษก ด้านตึกส่งเสริมบริการ

4. รวบรวมจำนวนผู้ป่วยบาดเจ็บทั้งหมด และแจ้งให้ผู้ช่วยผู้บัญชาการแผนคนที่ 1

 

 

 

 

Zone เหลือง /พื้นที่รอบห้องอุบัติเหตุฉุกเฉิน /ผู้ป่วยบาดเจ็บปานกลาง

1. Triage sort เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้เปลี่ยนป้ายสี
2. ตรวจสอบป้ายข้อมือกับ MC Card ให้ตรงกัน
3. ปฏิบัติการพยาบาลและให้การรักษาตามคำสั่งแพทย์ ดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. ช่วยแพทย์ทำหัตถการ
5. บันทึกข้อมูลใน MC Card เช่น V/S, ลักษณะบาดแผล, การให้ยารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับหลังทำหัตถการหรือให้ยา รวมทั้งตรวจสอบ MC Card ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
6. ร่วมตรวจสอบทรัพย์สินผู้ป่วย กรณีที่ผู้ป่วยไม่รู้สึกตัวกับเจ้าหน้าที่การเงิน
7. ติดตามดูแลและนำส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยงานอื่น หอผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับด้วยทุกครั้ง
8. ดูแลและให้การพยาบาล หรือจำหน่ายผู้ป่วยในห้องสังเกตอาการที่ยังค้างอยู่ใน ER ร่วมกับแพทย์

 

 

 

Zone เขียว /OPD Orthopedict /ผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย

1. Triage sort เมื่อพบการเปลี่ยนแปลงระดับความรุนแรงของผู้ป่วยให้เปลี่ยนป้ายสี
2. ตรวจสอบป้ายข้อมือกับ MC Card ให้ตรงกัน
3. ปฏิบัติการพยาบาลและให้การรักษาตามคำสั่งแพทย์ ดูแลและประเมินสภาพผู้ป่วยเป็นระยะตามความเหมาะสม
4. ช่วยแพทย์ทำหัตถการ
5. บันทึกข้อมูลใน MC Card เช่น V/S, ลักษณะบาดแผล, การให้ยารักษาพยาบาล, อุปกรณ์ที่ใช้กับผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับหลังทำหัตถการหรือให้ยา รวมทั้งตรวจสอบ MC Card ให้สมบูรณ์ครบถ้วน
6. ติดตามดูแลและนำส่งผู้ป่วยไปยังหน่วยงานอื่น หอผู้ป่วย และเซ็นต์ชื่อกำกับด้วยทุกครั้ง
7. ดูแลและให้การพยาบาล หรือจำหน่ายผู้ป่วย นัดหมายติดตามอาการตามคำสั่งแพทย์

 

 

 

Zone ดำ /Ward Eye ENT /ผู้ป่วยหมดหวัง หรือเสียชีวิต

1. ประสานแพทย์ วินิจฉัยผู้ป่วยใน zone สีดำ ยืนยันการเสียชีวิตของผู้ป่วย
2. ช่วยแพทย์ตรวจร่างกายผู้เสียชีวิต บันทึกบาดแผล ลงใน MC Card ถ่ายรูปเป็นหลักฐาน
2. ดูแลเก็บทรัพย์สินผู้เสียชีวิตและลงบันทึก ร่วมกับเจ้าหน้าที่การเงิน
3. เขียนป้ายติดตัวผู้เสียชีวิตตามหลักฐานที่ปรากฎแน่ชัด
4. บันทึกจำนวนผู้เสียชีวิต รายงานผช.แผน 1
5. จนท.ห้องเก็บศพ เคลื่อนย้ายศพไปสถาบันนิติเวช เพื่อให้แพทย์นิติเวชชันสูตร