bt_backward

เวชระเบียน

bt_home

 

 

A. บทบาทหน้าที่/ความรับผิดชอบ

1. จนท.เวชระเบียนผู้ป่วยนอก (ห้องบัตร) จัดเตรียมสติ๊กเกอร์ บาร์โค๊ด H.N.ชั่วคราว (รหัส 09 xx xxxxxx) และเปิด V.N. เมื่อประกาศแผนฯ เพื่อจับคู่ให้ตรงกับ MC card

 

2. จนท.เวชระเบียนผู้ป่วยนอก (ห้องบัตร) ลงทะเบียนผู้ป่วยทุกรายที่จุดคัดกรองโดยจับคู่สติ๊กเกอร์บารโค๊ด H.N.ที่เปิด V.N.แล้วกับซอง MC card แล้วผูกข้อมือให้รหัสชื่อ/H.N.ชั่วคราว จำแนกตามสี (ระดับความรุนแรง)

 

3. จนท.เวชระเบียนผู้ป่วยนอก (ห้องบัตร) ตามรวบรวมข้อมูลของผู้ป่วยทุกรายในภายหลัง เพื่อปรับแก้ให้ถูกต้องในระบบคอมพิวเตอร์

 

4. จนท.เวชระเบียนผู้ป่วยใน (เวชสถิติ) รวบรวมข้อมูลสถิติของผู้ป่วยทุกราย เพื่อรายงานผู้บังคับบัญชา

 

 

 

 

 

B. เมื่อได้รับแจ้งเหตุอุบัติภัยหมู่ จะทำอย่างไร/ ไปที่ไหน

1. หากท่านเป็น incharge ปฏิบัติงานอยู่ เมื่อได้รับแจ้งใช้แผนรับอุบัติภัยหมู่ ให้แจ้งหน.งานเวชระเบียน และหน.กลุ่มงานเทคโนโลยีสารสนเทศ (การประกาศใช้แผนฯ Click here)

 

2. หน.งานเวชระเบียนผู้ป่วยนอกหรือผู้ได้รับมอบหมาย ให้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าทีมประสานงาน มีหน้าที่กำหนดบทบาทให้ทีมห้องบัตร 1 คนดำเนินการเปิด V.N. ให้แก่ H.N.ชั่วคราว (รหัส 09 xx xxxxxx) ครั้งละ 50 H.N. (เปิดเพิ่มหากผู้ป่วยมีมากกว่า 50 ราย) แล้วไปช่วยปฏิบัติงานที่จุดคัดกรองเพื่อลงทะเบียนชั่วคราว ผูกป้ายข้อมือผู้ป่วยทุกราย
 

มอบหมายให้ทีมห้องบัตร 1 คนไปช่วยปฏิบัติงานที่ห้องยา OPD ชั้น2 ตึกผู้ป่วยนอก เพื่อเก็บข้อมูลผู้ป่วยสีเขียว ก่อนผู้ป่วยได้รับการจำหน่ายและรับยา
 

มอบหมายให้ทีมห้องบัตร ไปเก็บข้อมูลผู้ป่วยสีแดงและสีเหลืองบนหอผู้ป่วยภายหลังเหตุการณ์สงบแล้ว

 

3. จนท.ลงทะเบียนผู้ป่วย ให้ไปรายงานตัวกับหัวหน้าทีมพยาบาลคัดกรอง ที่จุดคัดกรองบริเวณประตูทางเข้าโรงพยาบาลด้านถนนสีลม
 

จนท.เก็บข้อมูลผู้ป่วยสีเขียว ให้ไปรายงานตัวกับหัวหน้าทีมพยาบาลสีเขียว (N3) ที่ห้องตรวจโรคกระดูกและข้อ ชั้น 2 ตึกผู้ป่วยนอก โทร.9691-2
 

4. เจ้าหน้าที่ทุกท่านให้ไปประจำที่หน่วยงาน รายงานตัวกับหัวหน้าหน่วยงานหรือผู้ได้รับมอบหมาย

 

 

 

 

C. แนวทางปฏิบัติงาน ณ จุดที่รับผิดชอบ (แผนที่ Click here)

งานเวชระเบียน

1. เนื่องจากขณะเกิดเหตุอุบัติภัยหมู่ซึ่งมีผู้ป่วยมาพร้อมกันเป็นจำนวนมาก การเก็บข้อมูลผู้ป่วยให้ครบถ้วนเพื่อลงทะเบียนและออกบัตร H.N.เหมือนเวลาปกติจะไม่สามารถทำได้
 

ในสถานการณ์ดังกล่าวจึงต้องใช้ OPD card ชั่วคราวเรียก Mass casualty card หรือ MC Card ซึ่งจะมี H.N.ชั่วคราว (รหัส 09 xx xxxxxx) ที่ไม่ซ้ำกันกำกับแต่ละ MC card ใช้เป็นการเฉพาะหน้าไปก่อน
 

H.N.หมวดนี้จะสร้างขึ้นเพื่อใช้กับแผนรับอุบัติภัยหมู่เท่านั้นเพื่อให้สามารถใช้ในระบบคอมพิวเตอร์ของโรงพยาบาลได้ และเลขหมายเดิมที่ถูกใช้ไปแล้วจะไม่ถูกนำกลับมาใช้ซ้ำอีก
 

อย่างไรก็ตาม รหัส H.N.นี้จะต้องถูกปรับแก้ให้ถูกต้องในภายหลัง ผู้ป่วยที่เคยมี H.N.ของโรงพยาบาลมาก่อน จะถูกรวบกลับไปใช้ H.N.เดิม  ผู้ป่วยที่ไม่เคยมี H.N.ของโรงพยาบาลจะได้รับการออก H.N.ใหม่ในหมวดที่ถูกต้องต่อไป (รหัส 01 xx xxxxxx)

2. ผู้ป่วยวิกฤติ (สีแดง) และผู้ป่วยรุนแรงปานกลาง (สีเหลือง) มักเป็นผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาตัวในโรงพยาบาล รวมถึงผู้ป่วยเสียชีวิต (สีดำ)  ให้จนท.ห้องบัตรไปเก็บข้อมูลบนหอผู้ป่วยหลังเหตุการณ์สงบแล้วเพื่อมาปรับแก้เวชระเบียนให้ถูกต้อง ภายใน 48 ชั่วโมง

3. ผู้ป่วยบาดเจ็บเล็กน้อย (สีเขียว) มักเป็นผู้ป่วยที่จำหน่าย กลับบ้านได้  ให้จนท.ห้องบัตร ประสานจนท.ศูนย์สิทธิ์ และจนท.การเงิน ไปเก็บข้อมูลผู้ป่วยที่ห้องยา OPD ชั้น2 ตึกผู้ป่วยนอก ก่อนผู้ป่วยจะรับยากลับบ้าน เพื่อมาปรับแก้เวชระเบียนให้ถูกต้อง ภายใน 24 ชั่วโมง

4. เวชระเบียนผู้ป่วยใน (เวชสถิติ) ให้ประสานห้องบัตร รวบรวมข้อมูลสถิติที่เกี่ยวข้องกับผู้ป่วยอุบัติภัยหมู่ รายงานเสนอผู้บังคับบัญชาต่อไป