การขอยื่นแก้ไขโครงการวิจัยตามมติคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

การขอยื่นแก้ไขตามมติคณะกรรมการ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผลการพิจารณาจากการขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในครั้งแรกนั้น มีผลออกมาในสองกรณีคือ

  1. แก้ไขเล็กน้อย (Minor modification)
  2. แก้ไข (Major modification)
เมื่อทางสำนักงานฯ ได้ดำเนินการแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้วิจัยแล้วเสร็จ และผลการพิจารณามีมติให้แก้ไขในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม ผู้วิจัยจะมีระยะเวลาให้ดำเนินการซึ่งระบุเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารแจ้งผลการพิจารณาโครงการวิจัย หรือในระยะเวลา 1-2 เดือนนับตั้งแต่วันที่แจ้งผล โดยผู้วิจัยจะต้องจัดเตรียมเอกสารตาม "แบบตรวจสอบเอกสาร..." ของการขอยื่นแก้ไขตามมติคณะกรรมการ และดำเนินการส่งเอกสารมาที่สำนักงานฯ เพื่อให้ทางสำนักงานตรวจสอบและลงทะเบียนว่าโครงการวิจัยของท่านได้แก้ไข และขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อีกครั้ง
 
อนึ่ง หากผู้วิจัยนั้นส่งเอกสารไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง ทางสำนักงานฯ จะไม่ดำเนินการลงทะเบียนใด ๆ ทั้งสิ้น

 

             
     

การปรับแก้ไขตามมติคณะกรรมการ (Major modification)


สำหรับโครงการวิจัยที่ต้องปรับแก้ไข ซึ่งส่งผลต่อระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หรือทำให้ เกิดความเสี่ยงต่ออาสาสมัครมากเกินไป เช่น การปรับแก้ไขสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น โดยการปรับแก้ไขตามมติคณะกรรมการ (Major modification) นั้นจะ ใช้วิธีการเดียวกันกับการขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ครั้งแรก (Initial submission) และเข้าพิจารณาแบบปกติ (Full board) อีกครั้งเพื่อพิจารณาต่อไป 

     
             
             
     

การปรับแก้ไขเล็กน้อยตามมติคณะกรรมการ (Minor modification)


สำหรับโครงการวิจัยที่ต้องปรับแก้ไข โดยไม่ส่งผลต่อระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หรือเป็นปรับแก้ไขเพียงเล็กน้อย เช่น การปรับแก้ไขคำผิด เป็นต้น โดยการปรับแก้ไขเล็กน้อยตามมติคณะกรรมการ (Minor modification) นั้น เลขานุการจะเป็นผู้ตรวจสอบการแก้ไขของโครงการวิจัยว่าเป็นไปตามมติคณะกรรมการหรือไม่ จากนั้นก็จะมอบ ให้ประธานดำเนินการตรวจสอบและอนุมัติ ต่อไป 

 

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอยื่นแก้ไขโครงการวิจัยตามมติคณะกรรมการ (Resubmission)

     
             

 

 


พิมพ์   อีเมล