หน้าแรก

ดาวน์โหลด

(แบบฟอร์ม) การยื่นขอรับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ครั้งแรก (Initial) - ยกเว้นพิจารณา (Exemption)  

 

 

 

มาตรฐานการปฏิบัติงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

ความหมายของ Standard Operating Procedure (SOPs)

Standard Operating Procedure (SOPs) คือคำแนะนำในแต่ละขั้นตอนที่รวบรวมโดยองค์กรเพื่อช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานนั้นปฏิบัติงานประจำที่ซับซ้อนได้ โดยมุ่งหวังที่จะให้เกิดประสิทธิภาพ ผลผลิตที่มีคุณภาพ และความสม่ำเสมอของประสิทธิภาพ ขณะเดียวกันก็ลดความผิดพลาดและความล้มเหลวในการปฏิบัติตามกฎระเบียบอุตสาหกรรมในการวิจัยทางคลินิก

International Council for Harmonization (ICH) ได้กำหนดความหมายของ SOPs ไว้ว่า "คำแนะนำที่ละเอียดและเป็นลายลักษณ์อักษร เพื่อให้เกิดความสม่ำเสมอของประสิทธิภาพของการปฏิบัติหน้าที่เฉพาะ" SOPs มักจะถูกประยุุกต์ใช้ในกระบวนการเกี่ยวกับเภสัชกรรม และสำหรับการศึกษาทางคลินิกที่เกี่ยวข้อง มีการมุ่งเน้นในการประยุกต์ซ้ำในกระบวนการเดิม ขั้นตอน และการเอกสารประกอบเสมอ ดังนั้นจึงสนับสนุนการแยกออกของต้นกำเนิด สาเหตุและผลกระทบ ผู้อำนวยการการศึกษาเป็นผู้รับผิดชอบหลักของ SOPs ส่วนหน่วยงานประกันคุณภาพ (The Quality Assurance Unit) คือบุคคลที่รับผิดชอบในการตรวจสอบว่ารายงานการทดสอบและการทดสอบนั้นตรงตามระเบียบหรือไม่ และ SOPs ยังเอื้ออำนวยให้พนักงานได้อ้างอิงถึงการปฏิบัติงานทั่วไป กิจกรรม และภาระหน้าที่ พนักงานใหม่ใช้ SOPs เพื่อตอบคำถามโดยไม่ต้องขัดจังหวะหัวหน้างานเพื่อถามวิธีการปฏิบัติงาน

มาตรฐานคุณภาพสากล ISO9001 นั้นจำเป็นต้องมีการกำหนดกระบวนการ (จัดทำเป็นเอกสารตามขั้นตอนการปฏิบัติงานมาตรฐาน) ที่ใช้ในกระบวนการผลิตใด ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์

 

มาตรฐานการปฏิบัติงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลเลิดสิน (LHEC's SOPs)

คณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลเลิดสิน ได้ดำเนินการจัดทำมาตรฐานการปฏิบัติงานจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โรงพยาบาลเลิดสิน (LHEC's SOPs) โดยมีวัตถุประสงค์ก็คือทำให้การดำเนินการใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์นั้นเป็นไปในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้การดำเนินการเป็นไปอย่างถูกต้อง เรียบร้อย และลดระยะเวลาการดำเนินการที่ผิดพลาดลง

Reference :

  1. McMurdo Station Medical Standard Operating Procedures as of 2006/06" (PDF). Archived from the original (PDF) on March 14, 2016.
  2. Guidance on the Documentation Requirements of ISO 9001:2008 Archived October 15, 2011, at the Wayback Machine
  3. Taylor, G.A. (2012) Readability of OHS documents - A comparison of surface characteristics of OHS text between some languages, Safety Science, 50(7), 1627-1635.

การยื่นส่งรายงานความก้าวหน้า และการยื่นขอต่ออายุการรับรองจริยธรรม

ตามระเบียบการ ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการส่งรายงานความก้าวหน้า ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อพิทักษ์สิทธิ ความปลอดภัย และความเป็นอยู่ที่ดีของอาสาสมัคร และโครงการวิจัยทีได้รับการรับรองจริยธรรมนั้นจะมีอายุในการรับรอง 1 ปี หากโครงการวิจัยนั้นมีการทำวิจัยมากกว่า 1 ปี ผู้วิจัยจะต้องดำเนินการยื่นขอต่ออายุการรับรองจริยธรรม เพื่อให้การดำเนินการวิจัยนั้นดำเนินการต่อไปได้

             
     

การส่งรายงานความก้าวหน้า (Progress Report Form) และการพิจารณาการยื่นขอต่ออายุการรับรองจริยธรรม (Continuing)


เจ้าหน้าที่สำนักงานฯ จะแจ้งเตือนผู้วิจัยล่วงหน้าว่าโครงการวิจัยถึงกำหนดต้องส่งรายงาน ความก้าวหน้า อย่างน้อย 90 วัน ก่อนใบรับรองหมดอายุ ในกรณีที่ผู้วิจัยส่งรายงานความก้าวหน้า หลังใบรับรองหมดอายุ และยังไม่ได้ใบรับรองฉบับใหม่ ผู้วิจัยจะต้อง หยุดดำเนินการวิจัยจนกว่าจะได้รับใบรับรองฉบับใหม่ โดยที่การส่งยื่นเอกสารฯ จะต้องยื่นภายในวันที่ 5 ของเดือนที่จัดประชุมคณะกรรมการฯ เช่นเดียวกันกับการยื่นขอรับจริยธรรมการวิจัยครั้งแรก ในการพิจารณาแบบปกติ (Full board)

โดยผลการพิจารณารายงานความก้าวหน้าของการวิจัยโดยคณะกรรมการฯ จะเป็นข้อใดข้อหนึ่งดังต่อไปนี้

  1. รับทราบ หรือ ให้ความเห็นชอบและให้ดำเนินการวิจัยต่อเนื่อง
  2. ขอรายละเอียดเพิ่มเติม โดยมี 2 กรณีได้แก่
    1. ขอรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อเห็นชอบให้ดำเนินการวิจัยต่อเนื่อง
    2. ขอรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อนําเข้าพิจารณาใหม่
  3. ไม่เห็นชอบให้ดำเนินการวิจัยต่อเนื่อง โดยในกรณีนี้ ผู้วิจัยสามารถร้องขอเพื่อทราบเหตุผลและรายละเอียดในการพิจารณาของคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ โดยแจ้งความจํานงและเหตุผลในการร้องขอต่อประธานคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ เป็นลายลักษณ์อักษรได้

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการยื่นขอต่ออายุการรับรองจริยธรรม (Continuing)

     
             

การขอยื่นแก้ไขโครงการวิจัยตามมติคณะกรรมการจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์

การขอยื่นแก้ไขตามมติคณะกรรมการ จะเกิดขึ้นก็ต่อเมื่อผลการพิจารณาจากการขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในครั้งแรกนั้น มีผลออกมาในสองกรณีคือ

  1. แก้ไขเล็กน้อย (Minor modification)
  2. แก้ไข (Major modification)
เมื่อทางสำนักงานฯ ได้ดำเนินการแจ้งผลการพิจารณาแก่ผู้วิจัยแล้วเสร็จ และผลการพิจารณามีมติให้แก้ไขในรูปแบบใด ๆ ก็ตาม ผู้วิจัยจะมีระยะเวลาให้ดำเนินการซึ่งระบุเป็นลายลักษณ์อักษรในเอกสารแจ้งผลการพิจารณาโครงการวิจัย หรือในระยะเวลา 1-2 เดือนนับตั้งแต่วันที่แจ้งผล โดยผู้วิจัยจะต้องจัดเตรียมเอกสารตาม "แบบตรวจสอบเอกสาร..." ของการขอยื่นแก้ไขตามมติคณะกรรมการ และดำเนินการส่งเอกสารมาที่สำนักงานฯ เพื่อให้ทางสำนักงานตรวจสอบและลงทะเบียนว่าโครงการวิจัยของท่านได้แก้ไข และขอรับการพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์อีกครั้ง
 
อนึ่ง หากผู้วิจัยนั้นส่งเอกสารไม่ครบถ้วน หรือไม่ถูกต้อง ทางสำนักงานฯ จะไม่ดำเนินการลงทะเบียนใด ๆ ทั้งสิ้น

 

             
     

การปรับแก้ไขตามมติคณะกรรมการ (Major modification)


สำหรับโครงการวิจัยที่ต้องปรับแก้ไข ซึ่งส่งผลต่อระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หรือทำให้ เกิดความเสี่ยงต่ออาสาสมัครมากเกินไป เช่น การปรับแก้ไขสูตรคำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่าง เป็นต้น โดยการปรับแก้ไขตามมติคณะกรรมการ (Major modification) นั้นจะ ใช้วิธีการเดียวกันกับการขอรับพิจารณาจริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ครั้งแรก (Initial submission) และเข้าพิจารณาแบบปกติ (Full board) อีกครั้งเพื่อพิจารณาต่อไป 

     
             
             
     

การปรับแก้ไขเล็กน้อยตามมติคณะกรรมการ (Minor modification)


สำหรับโครงการวิจัยที่ต้องปรับแก้ไข โดยไม่ส่งผลต่อระเบียบวิธีวิจัย (Methodology) หรือเป็นปรับแก้ไขเพียงเล็กน้อย เช่น การปรับแก้ไขคำผิด เป็นต้น โดยการปรับแก้ไขเล็กน้อยตามมติคณะกรรมการ (Minor modification) นั้น เลขานุการจะเป็นผู้ตรวจสอบการแก้ไขของโครงการวิจัยว่าเป็นไปตามมติคณะกรรมการหรือไม่ จากนั้นก็จะมอบ ให้ประธานดำเนินการตรวจสอบและอนุมัติ ต่อไป 

 

 

ดาวน์โหลดแบบฟอร์มการขอยื่นแก้ไขโครงการวิจัยตามมติคณะกรรมการ (Resubmission)

     
             

 

 

Free Joomla templates by L.THEME