หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้าน เพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญ ในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ชื่อหลักสูตร (ภาษาไทย): หลักสูตรฝึกอบรมแพทย์ประจำบ้านเพื่อวุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ชื่อหลักสูตร (ภาษาอังกฤษ): Residency Training in Emergency Medicine
ชื่อวุฒิบัตร ชื่อเต็ม (ภาษาไทย): วุฒิบัตรแสดงความรู้ความชำนาญในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ชื่อวุฒิบัตร ชื่อเต็ม (ภาษาอังกฤษ): Diploma of the Thai Board of Emergency Medicine
ชื่อย่อ (ภาษาไทย): ว.ว. สาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน
ชื่อย่อ (ภาษาอังกฤษ): Diploma, Thai Board of Emergency medicine
หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้กํากับดูแลการฝึกอบรมและที่เกี่ยวข้อง: วิทยาลัยแพทย์ฉุกเฉินแห่งประเทศไทย (วฉท.)
วิธีการให้ฝึกอบรม แบ่งตามสมรรถนะหลักทั้ง 6 ด้าน
- การดูแลรักษาผู้ป่วย (Patient care) - การฝึกอบรมเวชศาสตรฺฉุกเฉิน
- การฝึกอบรมเวชบำบัดวิกฤต
- การฝึกอบรมด้านอำนวยการและปฏิบัติการฉุกเฉินการแพทย์
- การฝึกอบรมรายวิชาเลือก
- การฝึกอบรมตามหลักสูตรประมวลการกู้ชีพขึ้นสูง ได้แก่ ACLS, PALS, ATLS, Emtox และ TCEP Resuscitative Procedure Course.
- ความรู้และทักษะทางเวชกรรม (Medical Knowledge and skills)การทําเวชปฏิบัติให้สอดคล้องกับระบบสุขภาพ (Systems-based Practice)
- การเรียนรู้และการพัฒนาจากฐานการปฏิบัติ (Practice-based Learning and Improvement)
- ความเป็นนักวิชาชีพ (Professionalism)
- ทักษะระหว่างบุคคลและการสื่อสาร (interpersonal Skills and Communication)
จํานวนระดับชั้นการฝึกอบรม
จํานวนชั้นของการฝึกอบรมมีอย่างน้อย 3 ระดับชั้น โดยหนึ่งระดับชั้นเทียบเท่าการฝึกอบรมเต็มเวลาไม่น้อยกว่าหนึ่งปี โดยกําหนดให้ผู้มีสิทธิสอบเพื่อวุฒิบัตร จะต้องมีเวลาในการฝึกอบรมอย่างน้อย 144 สัปดาห์
การทํางานในห้องฉุกเฉินปฏิบัติงานอยู่ในความควบคุมของอาจารย์ผู้ให้การฝึกอบรมโดยเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 32 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และไม่เกิน 48 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ทั้งนี้ขณะปฏิบัติงานที่แผนกฉุกเฉิน แพทย์ประจําบ้านมีเวลาทํางานในแต่ละวันไม่ติดต่อกันเกินกว่า 12 ชั่วโมง และในแต่ละวันมีเวลาพักอย่างน้อยเท่ากับเวลาปฏิบัติงาน รวมทั้งจัดให้มีวันพักอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์
โดยในปี พ.ศ. 2565 กลุ่มงานเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลิดสิน ผ่านการประเมินศักยภาพในการรับแพทย์ประจําบ้านได้ไม่เกิน 4 คนต่อปีการฝึกอบรม
หลักเกณฑ์ วิธีการคัดเลือกผู้สมัครเข้ารับการฝึกอบรม
- ให้ความสําคัญแก่ผู้มีต้นสังกัด ตามลําดับดังนี้
ก. โรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐซึ่งเป็นหรือมีศักยภาพเป็นสถาบันฝึกอบรมแพทย์เฉพาะทางสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉินเป็นลําดับแรก
ข. โรงพยาบาลในสังกัดหน่วยงานของรัฐที่มีศูนย์แพทยศาสตรศึกษาชั้นคลินิก เป็นลําดับถัดจาก (ก)
ค. โรงพยาบาลหรือสถาบันที่เป็นที่ปฏิบัติงานเพิ่มพูนทักษะ เป็นลําดับถัดจาก (ข)
ง. โรงพยาบาลระดับรองลงมา ตามลําดับ เป็นลําดับถัดจาก (ค)
- ให้ความสําคัญแก่ผู้ที่ปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุน ตามลําดับดังนี้
ก. ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 3 ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลําดับแรก
ข. ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 2 ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลําดับถัดจาก (ก.)
ค. ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลําดับถัดจาก (ข.)
ง. ผู้มีต้นสังกัดจากหน่วยงานของรัฐและปฏิบัติงาน/ปฏิบัติงานชดใช้ทุนมาแล้วน้อยกว่า 1 ปี/ไม่ได้ปฏิบัติงานชดใช้ทุน หลังจากได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรม เป็นลําดับถัดจาก (ค.)
เกณฑ์การตัดสิน แบ่งเป็น 3 ด้าน
1. ด้านความรู้
2. ด้านพฤติกรรม ประสบการณ์และการมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางสังคม
3. ด้านเจตคติ
วิธีการคัดเลือก
ดําเนินการโดยใช้วิธีการสอบสัมภาษณ์ ซึ่งใช้แบบประเมินหรือวิธีอื่นตามมติของคณะอนุกรรมการฝึกอบรมแพทย์ประจําบ้านสาขาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน โรงพยาบาลเลิดสิน โดยต้องประกาศให้ผู้สมัครทราบโดยทั่วไป ก่อนวันประกาศรับสมัคร